เมนู

ศัพท์ว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถคือเหตุ. ความว่า ท่าน
ถามเราเพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เราจักตอบแก่ท่าน.
อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถคือยอมรับ.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำ ด้วยคำว่า เอาเถิด. นี้จึงตรัสว่า เรา
จักตอบ.
เฉพาะ 3 สิกขาบทนี้ คือ ติดไฟผิง มือเปื้อนอามิส น้ำล้างบาตร
มีเมล็ดข้าวสุก ทรงบัญญัติในภัคคชนบท.
สองบทว่า ยนฺตฺวํ อปุจฺฉิมฺหา มีความว่า ข้าพเจ้าได้ทูลถามปัญหา
ใดกะพระองค์.
บทว่า อกิตฺตยิ คือ พระองค์ได้ตรัสแล้ว.
บทว่า โน คือ แก่ข้าพเจ้า.
สองบทว่า ตนฺตํ พฺยากตํ มีความว่า คำใด ๆ อันข้าพเจ้าได้ทูล
ถามแล้ว คำนั้น ๆ อันพระองค์ทรงแก้แล้ว.
บทว่า อนญฺญถา ความว่า มิได้ทรงแก้บ่ายเบี่ยงโดยประการอื่น.

[วิบัติ 4]


ชื่อว่า สีลวิบัติ ย่อมไม่มีในปัญหาในคำว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา
ลีลวิปตฺติ
นี้ แม้โดยแท้ ถึงกระนั้น คำว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา สีลวิปตฺติ
นี้ ท่านกล่าวแล้ว ด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะแก้ทุฏฺฐุลลาบัติ.
จริงอยู่ ในวิบัติ 4 ทุฏฐุลลาบัติ สงเคราะห์ด้วยวิบัติ 1 อทุฏฐุลลาบัติ
สงเคราะห์ด้วยวิบัติ 3. เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา

สีลวิปตฺติ แล้ว จึงกล่าวว่า ปาราชิก สังฆาทิเสส เรียกว่า สีลวิบัติ เพื่อ
แสดงสีลวิบัตินั้นเอง โดยพิสดาร.
บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า ถุลฺลจฺจยํ เป็นอาทิ เพื่อแสดงอทุฏจุลลาบัติ
ด้วยอำนาจวิบัติ 3.
ในคำเหล่านั้น คำว่า โย จายํ อกฺโกสติ หสฺสาธิปฺปาโย นี้
ท่านกล่าว เพื่อชี้วัตถุแห่งทุพภาสิต.
บทว่า อพฺภาจิกฺขติ มีความว่า เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตู่.
หลายบทว่า อยํ สา อาชีววิปตฺติสมฺมตา มีความว่า ชื่อว่า
อาชีววิบัติ ที่ประมวลด้วย 6 สิกขาบทนี้ สมมติว่าวิบัติที่ 4 ฉะนี้แล.
คำถามว่า อทุฏฺฐุลฺลํ นี้ เป็นอันเฉลยแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

[ประมวลสิกขาบท]


บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า เอกาทส เป็นอาทิ เพื่อเฉลยปัญหาที่ว่า
เย จ ยาวตติยกา. ก็เพราะปัญหาที่ว่า เย จ ยาวตติยกา นี้ ท่าน
เฉลยแล้วด้วยอำนาจจำนวน อย่างนี้ว่า ยาวตติยกสิกขาบท 11, เพราะฉะนั้น
ท่านจึงถามอันตราปัญหาเหล่าอื่น มีคำว่า เฉทนกสิกขามีเท่าใด ? เป็น
อาทิ ด้วยอำนาจสืบต่อแห่งจำนวนนั่นเอง.
ท่านกล่าวว่า ฉ เฉทนกานิ เป็นอาทิ ก็เพื่อเฉลยอันตราปัญหา
เหล่านั้น. ในคำเฉลยนั้น คำว่า เภทนกสิกขาบท 1 อุททาลนกสิกขาบท 1
สิกขาบท 16 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า รู้อยู่ นี้แล ตรัสภายหลัง.